1win aviatormostbet aviatormostbetluckyget1 win indiamosbetpin upone win gameпинапpin up casino online1win online1 win onlinepin up kzmosbet indiamosbetmostbetaviatormosbetmosbetpinupmosbet aviatorparimatchmosbet india4era betpinap1 win4rabet gamelucky jet online4rabet1win saytiparimatchpin up casino1 win1win lucky jetpin up betlucky jetmostbet casinomostbet1win casinopin up betting4rabet bdlukyjet1win apostalucky jet crashaviator mostbet1 win1win slotpin-up1winmostbet azmostbet az
วันศุกร์, พฤษภาคม 17, 2024
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้
หน้าแรกท่องเที่ยวธนาคารเกียรตินาคินภัทร เผยกำไรไตรมาส 1 ลดลง 27.8% เหลือ 1,506 ล้านบาท สะท้อนตลาดทุนซบเซา

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร เผยกำไรไตรมาส 1 ลดลง 27.8% เหลือ 1,506 ล้านบาท สะท้อนตลาดทุนซบเซา

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือหุ้น KKP แจ้งผลประกอบการต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไตรมาส 1/67 ธนาคารและบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 1,506 ล้านบาท ปรับลดลง 27.8% จากไตรมาส 1/66 ที่มีกำไรสุทธิ 2,085 ล้านบาท แต่ปรับเพิ่มขึ้น 124.9% หากเทียบกับไตรมาส 4/66

รายได้จากการดำเนินงานรวม ไตรมาส 1/67 อยู่ที่ 6,832 ล้านบาท ปรับลดลงเล็กน้อย 1.6% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/66 แบ่งเป็นรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ ที่ปรับเพิ่มขึ้น 0.6% และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย ที่ปรับลดลง 8.1% สาเหตุหลักมาจากภาวะตลาดทุนที่ซบเซา ส่งผลให้รายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และรายได้ค่านายหน้าประกัน ปรับตัวลดลงตามการชะลอตัวของสินเชื่อปล่อยใหม่

ธนาคาร ยังสามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่าย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้สุทธิ อยู่ที่ 42.4%

ด้านคุณภาพสินทรัพย์ ธนาคารยังคงความรอบคอบ และมีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อย่างระมัดระวัง จากมาตรการต่างๆ ที่ธนาคารดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเร่งบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ ส่งผลให้ธนาคารเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น โดยผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ทยอยปรับตัวลดลง อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ยังคงมีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เป็นจำนวน 609 ล้านบาท ลดลง 44.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2566

นอกจากนี้ ในไตรมาส 1/2567 ภายใต้หลักการบริหารคุณภาพสินเชื่อเชิงรุก ธนาคารได้มีการพิจารณาจัดชั้นเชิงคุณภาพสินเชื่อขนาดใหญ่รายหนึ่ง ซึ่งธนาคารได้มีการตั้งสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นไว้ครบถ้วนแล้ว ในไตรมาส 4/2566 ส่งผลให้อัตราส่วนสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาส 1/2567 อยู่ที่ 3.8% ปรับเพิ่มขึ้นจาก 3.2% ณ สิ้นปี 2566 จากการที่ธนาคารได้มีการพิจารณาจัดชั้นเชิงคุณภาพสินเชื่อขนาดใหญ่รายดังกล่าว

ในขณะที่คุณภาพสินเชื่อประเภทอื่นๆ โดยรวมแล้วยังบริหารจัดการได้ในระดับที่ดี อัตราส่วนสำรองต่อสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต ณ สิ้นไตรมาส 1/2567 อยู่ที่ 137.3% แสดงให้เห็นถึงความมั่นคงและความสามารถในการบริหารความเสี่ยงของธนาคาร

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร

สำหรับไตรมาส 1/67 รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 5,253 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.6% จากไตรมาส 1/2566 แบ่งเป็นรายได้ดอกเบี้ยจำนวน 7,881 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 12.7% การเติบโตนี้มาจากรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้น 21.0% ตามการขยายตัวของสินเชื่อ และการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนของเงินให้สินเชื่อเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/66

ขณะที่ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยมีจำนวน 2,629 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกันที่ 48.3% จากไตรมาส 1/66 สาเหตุหลักมาจากต้นทุนทางการเงินที่ยังคงปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง ตามภาวะการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยในตลาด อัตราดอกเบี้ยจ่ายสำหรับไตรมาส 1/67 ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2.4% ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสำหรับไตรมาส 1/67 ปรับลดลงอยู่ที่ 4.9%

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน มีจำนวน 4,316 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 33.3% จากไตรมาส 1/66 การเพิ่มขึ้นนี้ส่วนใหญ่มาจากผลขาดทุนจากการขายรถยึดมีจำนวน 1,443 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 2.4% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/66 อย่างไรก็ตาม ธนาคารเริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นจากปริมาณรถยึดคงค้างที่มีการทยอยปรับตัวลดลง ขาดทุนจากการขายรถยึด เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/66 ปรับเพิ่มขึ้น 28.8% ตามการบริหารจัดการปริมาณรถยึดคงค้าง

ในระหว่างไตรมาส 1/2566 ธนาคารเกียรตินาคินภัทร มีการโอนกลับรายการขาดทุนจากการปรับมูลค่าทรัพย์สินรอการขายเป็นจำนวน 619 ล้านบาท จากการที่ธนาคารได้มีการปรับประมาณการค่าเพื่อการปรับมูลค่าทรัพย์สินรอการขายเพื่อให้เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องอสังหาริมทรัพย์รอการขาย

ธนาคารสามารถบริหารค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินรอการขาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากอัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อรายได้สุทธิสำหรับไตรมาส 1/2567 ที่อยู่ในระดับ 42.4%

ด้านนโยบายการเงิน ในปี 2567 จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งล่าสุดในเดือนเมษายนที่ผ่านมา กนง. ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้ม ฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง

ด้านอัตราเงินเฟ้อ คาดว่าจะทยอย กลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย ภายในปลายปี 2567 จากมุมมองของ กนง. ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและเงินเฟ้อข้างต้น คาดว่า กนง. มีแนวโน้มที่จะคงอัตราดอกเบี้ย ไว้ตลอดปี 2567

ตลาดรถยนต์หดตัว 21.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นำโดยกลุ่มรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่หดตัว 28.0% และรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่หดตัว 9.3% ตามลำดับ สาเหตุหลักมาจากรายได้และกำลังซื้อที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย และระดับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET index) ปรับลดลง 2.7% เหลือ 1,377.94 จุด จาก 1,415.85 จุด ณ สิ้นปี 2566 สาเหตุหลักมาจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่ตลาดคาด ศักยภาพเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มลดลง รวมทั้งปัจจัยด้านนโยบายเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน

มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวัน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาด เอ็ม เอ ไอ ปรับลดลง 14.3% เหลือ 45,717 ล้านบาท จาก 53,331 ล้านบาท ในปี 2566

ติดตาม ข่าวท่องเที่ยว ได้ที่นี่

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้

Most Popular

Recent Comments