1win aviatormostbet aviatormostbetluckyget1 win indiamosbetpin upone win gameпинапpin up casino online1win online1 win onlinepin up kzmosbet indiamosbetmostbetaviatormosbetmosbetpinupmosbet aviatorparimatchmosbet india4era betpinap1 win4rabet gamelucky jet online4rabet1win saytiparimatchpin up casino1 win1win lucky jetpin up betlucky jetmostbet casinomostbet1win casinopin up betting4rabet bdlukyjet1win apostalucky jet crashaviator mostbet1 win1win slotpin-up1winmostbet azmostbet az
วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 9, 2024
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้
หน้าแรกอาหารเตือนอาหารสำเร็จรูปเด็กเล็ก ใส่เกลือ-น้ำตาลสูง ภัยร้ายกระทบพัฒนาการ

เตือนอาหารสำเร็จรูปเด็กเล็ก ใส่เกลือ-น้ำตาลสูง ภัยร้ายกระทบพัฒนาการ

ยูนิเซฟ เปิดผลวิจัยอาหารเด็กเล็กในไทย และอีก 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีปริมาณน้ำตาลและเกลือสูง ชี้ร้อยละ 72 อาหารทานเล่น ของขบเคี้ยว ที่เน้นขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี น่าห่วงที่สุด ขณะรัฐบาลของประเทศต่างๆ ยังไม่มีแนวทางในการควบคุม

จากผลศึกษา ข่าวอาหาร ที่สนับสนุนโดยยูนิเซฟและพันธมิตร Consortium for Improving Complementary Foods in Southeast Asia (COMMIT) เปิดเผยผลวิจัยที่น่าตกใจว่า อาหารสำเร็จรูปที่มุ่งทำการตลาดกับเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 3 ปีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีปริมาณน้ำตาลและเกลือสูง และติดฉลากที่อาจสร้างความเข้าใจผิดและหลอกลวง ทั้งยังขาดระเบียบข้อบังคับเข้มงวดในขั้นตอนการผลิตและจำหน่าย

โดยการศึกษาชิ้นนี้ ทำการประเมินอาหารสำเร็จรูปสำหรับเด็กมากกว่า 1,600 ชนิด เช่น อาหารเสริมจากธัญพืชสำหรับทารก อาหารบดในรูปแบบขวดและซอง ของขบเคี้ยว และอาหารพร้อมรับประทานที่มุ่งเป้าไปยังเด็กเล็กใน 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

การศึกษาพบว่า เกือบครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 44 ของอาหารสำเร็จรูปมีการเติมน้ำตาล และสารให้ความหวาน และอัตรานี้สูงถึงร้อยละ 72 ในกลุ่มของขบเคี้ยวและอาหารทานเล่น ขณะที่กว่า 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มีปริมาณโซเดียมสูงกว่าที่แนะนำ นอกจากนี้ เกือบร้อยละ 90 ของอาหารเหล่านี้ติดฉลากที่อาจสร้างความเข้าใจผิด หรือหลอกลวงเกี่ยวกับส่วนประกอบผลิตภัณฑ์

เดอเบอรา โคมินี่ ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวว่า มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่เน้นขายให้กับเด็กเล็กมากเกินไป อีกทั้งยังติดฉลากที่อาจหลอกลวง หรือสร้างความเข้าใจผิดให้กับพ่อแม่

ปัจจุบัน เด็กเล็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำเร็จรูปเป็นประจำ โดยร้อยละ 79 ของแม่ที่อาศัยอยู่ในเมืองให้ลูกกินอาหารเหล่านี้ทุกวัน และยอดขายของอาหารเหล่านี้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 45 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ส่วนข้อบังคับ การศึกษาระบุว่าทั้ง 7 ประเทศไม่มีนโยบายควบคุมส่วนประกอบและการติดฉลากอาหารดังกล่าวตามคำแนะนำสากล หลายประเทศไม่มีมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมปริมาณน้ำตาลและเกลือ ขณะที่บางประเทศมีการควบคุมปริมาณน้ำตาล เกลือในอาหารบางหมวดหมู่เท่านั้น

เช่น อาหารเสริมจากธัญพืชหรือของขบเคี้ยว แต่ปริมาณสูงสุดที่กำหนดก็ยังสูงกว่ามาตรฐานสากล ทั้งนี้ การบริโภคน้ำตาลตั้งแต่ยังเด็กอาจทำให้เกิดฟันผุ น้ำหนักเพิ่ม และนิสัยการกินที่ไม่ดี ในขณะที่การบริโภคโซเดียมในปริมาณสูงอาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง

นอกจากนี้ ยังพบการกล่าวอ้างบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างแพร่หลาย โดยร้อยละ 90 มีการระบุส่วนประกอบและปริมาณสารอาหาร มักพบข้อความ เช่น “จากธรรมชาติทั้งหมด” “แหล่งวิตามินที่ดี” และ “ไม่มีส่วนผสมสังเคราะห์” ในผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณน้ำตาล เกลือ และไขมันสูง นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศกัมพูชา ฟิลิปปินส์ และลาวส่วนใหญ่มีแต่ฉลากภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อพ่อแม่ในการเลือกซื้ออาหารที่เหมาะสมสำหรับลูก

“รัฐบาลของประเทศต่างๆ และผู้ผลิตอาหารต้องร่วมกันหันมาปกป้องสุขภาพของเด็กเล็ก เพราะโภชนาการที่ดีในขวบปีแรกจะช่วยให้เด็กเติบโตอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างครอบครัวให้แข็งแกร่ง ส่งเสริมแรงงานที่มีประสิทธิภาพและเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง

ในทางกลับกัน โภชนาการที่แย่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเตี้ยแคระแกร็น การขาดสารอาหาร น้ำหนักเกิน โรคอ้วน และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งส่งผลรุนแรงต่อเด็กและครอบครัว และระบบสาธารณสุขและเศรษฐกิจในท้ายที่สุด”

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้

Most Popular

Recent Comments