วันจันทร์, พฤษภาคม 6, 2024
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้
หน้าแรกแม่และเด็กคุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง รับมืออย่างไร?

คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง รับมืออย่างไร?

คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง รับมืออย่างไร? อาการปวดหลัง เป็นหนึ่งในบรรดาอาการร้อยแปดพันเก้าที่แม่ท้องต้องได้พบเจอไม่มากก็น้อย ยิ่งอายุครรภ์มากขึ้น ขนาดท้องใหญ่ขึ้น ก็ดูเหมือนว่าอาการปวดหลังจะทวีความรุนแรงมากขึ้นด้วย

คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง

ปัญหาที่พบบ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ มักหนีไม่พ้นอาการปวดหลัง โดยเฉพาะเมื่อมีอายุครรภ์มากขึ้น อาการปวดหลังจะมีมากหรือน้อยแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ซึ่งบางครั้งอาจปวดหลังจนกระทั่งหลังคลอดแล้วนานเป็นเดือนหรือหลายเดือนเลยทีเดียว เนื่องจากร่างกายต้องใช้เวลาในการปรับสมดุลฮอร์โมนและฟื้นฟูให้กระดูกสันหลังที่เคยแอ่นระหว่างการตั้งครรภ์กลับเข้าที่

คุณแม่ตั้งครรภ์กับอาการปวดหลัง

สาเหตุคุณแม่ตั้งครรภ์มีอาการปวดหลัง

1.น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นและการถ่วงของครรภ์ที่อยู่ด้านหน้าส่งผลให้กระดูกสันหลังแอ่นเป็นเวลานาน หลังต้องแบกรับน้ำหนักตัวมากขึ้นจนทำให้คุณแม่มีอาการปวดหลัง

 

2.ฮอร์โมนเปลี่ยน หญิงตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนรีแลกซิน (Relaxin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างมาจากรังไข่ ขณะตั้งครรภ์ ช่วยกระตุ้นการคลายตัวเอ็นยึดกระดูกเชิงกราน ให้คลอดง่ายขึ้น ซึ่งบางครั้งส่งผลให้มีอาการปวดหลังได้ รวมถึงเมื่ออายุครรภ์ 5 เดือนเป็นต้นไป ทารกจะดึงแคลเซียมจากกระแสเลือดคุณแม่ไปใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน เป็นเหตุให้เกิดการกร่อนของกระดูก นำมาซึ่งอาการปวดหลังในที่สุด

 

3.กล้ามเนื้อส่วนกลางของลำตัวแยกตัว เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกมีการเจริญเติบโต มดลูกขยายใหญ่ขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อตรงส่วนกลางของลำตัวเกิดการแยกตัว ทำให้เกิดอาการปวดหลังตามมา

 

4.การทรงตัวและท่าทางต่างๆ คุณแม่ที่มีหน้าท้องใหญ่มากขึ้น มักเดินตัวแอ่นไปข้างหลังเพื่อพยุงตัว แต่หารู้ไม่ว่าการแอ่นตัวรวมถึงการนั่งหรือก้มหยิบสิ่งของไม่ถูกวิธี ก็เป็นสาเหตุให้คุณแม่ปวดหลัง

 

5.ความเครียดขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีความกังวลและความเครียดซ่อนอยู่ ทำให้กล้ามเนื้อต่างๆในร่างกายเกิดการตึงตัว มีผลต่ออาการปวดหลังได้ด้วยเช่นกัน

การลดอาการปวดหลังของแม่ตั้งครรภ์

1.คุมน้ำหนักตัวให้ขึ้นตามเกณฑ์ที่แพทย์กำหนดไว้ ควรคุมไม่ให้ครรภ์ใหญ่เกินไปจนเกิดการถ่วงจนกระดูกสันหลังแอ่น

 

2.เลือกที่นอนที่ไม่อ่อนยวบจนเกินไป โดยเฉพาะที่นอนที่ยุบไปตามน้ำหนักตัว จะทำให้คุณแม่ปวดหลังมากยิ่งขึ้น

 

3.เปลี่ยนจากนอนหงายเป็นนอนตะแคง โดยงอเข่าและวางขาลงบนหมอนข้างที่มีความแข็งและหนา พอให้ทิ้งน้ำหนักตัวลงบนหมอนข้างกำลังพอดี ช่วยให้น้ำหนักตัวและครรภ์ถูกถ่ายลงไปยังหมอนข้าง ลดภาระการทำงานของกล้ามเนื้อหลังได้มากขึ้น

 

4.หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป ตามหลักการแพทย์แล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์ควรใส่รองเท้าที่มีส้นไม่เกิน 1 – 2 นิ้ว เพื่อให้น้ำหนักอยู่ในช่วงกลางลำตัวและมีความสมดุล

 

5.หากมีความจำเป็นต้องยกของหนักหรืออุ้มเด็ก คุณแม่ตั้งครรภ์ควรฝึกให้ถูกวิธี โดยยืน แยกเท้าออกเท่าช่วงสะโพก ให้ปลายเท้าเฉียงออกเล็กน้อย จากนั้นค่อยๆ งอเข่า หย่อนตัวลงตรงๆ พยายามให้น้ำหนักตัวอยู่ตรงกลางและบริเวณสะโพก ใช้กำลังจากแขนและไหล่ยกของ สุดท้ายจึงใช้ขาพยุงตัวขึ้น โดยไม่ใช้แรงหลังเด็ดขาด แต่ถ้ามีอาการปวดหลังหรือไม่มีความจำเป็นก็ไม่ควรยกของหนักหรืออุ้มเด็กจากพื้น

 

6.หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ และการยืนบนพื้นแข็งๆ โดยควรหาผ้าหรือพรมเช็ดเท้ามารองพื้น และมีเก้าอี้เตี้ยๆ รองขาข้างหนึ่งไว้

 

7.ฝึกท่านั่งให้ถูกต้อง หลังตรง เอน พิงพนักเก้าอี้เล็กน้อยและควรมีเก้าอี้เตี้ยๆ รองรับเท้า ควรเลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลังและเบาะนั่งที่ไม่นุ่มเกินไป และไม่ควรนั่งไขว่ห้าง รวมถึงไม่ควรนั่งนาน และควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ

 

8.ทาครีมแก้ปวด สามารถบรรเทาอาการได้บ้าง ซึ่งถือว่าเป็นเพียงการช่วยบรรเทาอาการเท่านั้น ไม่ใช่รักษาอาการปวดให้หายเด็ดขาด

อาการคนท้องปวดหลัง จะหายเป็นปกติเมื่อไหร่

ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าต้องใช้ระยะเวลานานแค่ไหนอาการปวดหลังถึงจะหายกลับมาเป็นปกติ เพราะร่างกายของคุณแม่แต่ละคนนั้นแตกต่างกัน และสาเหตุที่ปวดหลังก็ต่างกันด้วย ดังนั้น ช่วงเวลาที่จะฟื้นตัวและหายปวดหลังกลับมาเป็นปกติจึงไม่เหมือนกันค่ะ โดยอาจจะใช้ระยะเวลาแค่เพียง 1-2 วัน ไปจนถึงสัปดาห์ก็ได้เช่นกัน

 

แต่ถ้าอาการปวดหลังติดต่อกันนานเกินหนึ่งสัปดาห์เป็นต้นไป หรืออาการปวดหลังไม่ดีขึ้นเลย ควรไปพบแพทย์ทันที

 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้

Most Popular

Recent Comments