1win aviatormostbet aviatormostbetluckyget1 win indiamosbetpin upone win gameпинапpin up casino online1win online1 win onlinepin up kzmosbet indiamosbetmostbetaviatormosbetmosbetpinupmosbet aviatorparimatchmosbet india4era betpinap1 win4rabet gamelucky jet online4rabet1win saytiparimatchpin up casino1 win1win lucky jetpin up betlucky jetmostbet casinomostbet1win casinopin up betting4rabet bdlukyjet1win apostalucky jet crashaviator mostbet1 win1win slotpin-up1winmostbet azmostbet az
วันจันทร์, พฤษภาคม 20, 2024
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้
หน้าแรกแม่และเด็กเช็คอาการ ลูกเราติดโทรศัพท์เกินไปไหม? เสี่ยงสมาธิสั้น

เช็คอาการ ลูกเราติดโทรศัพท์เกินไปไหม? เสี่ยงสมาธิสั้น

เช็คอาการ ลูกเราติดโทรศัพท์เกินไปไหม? เสี่ยงสมาธิสั้น ปัญหาลูกติดมือถือกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับพ่อแม่ในยุคปัจจุบันไปเสียแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหานี้กลายเป็นปัญหาที่ถูกละเลยจากพ่อแม่ด้วยความจำใจ อาจเป็นเพราะพ่อแม่จำเป็นต้องให้ลูกเล่นมือถือเพื่อที่ตัวเองจะสามารถทำงานได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้พ่อแม่ก็ต้องเข้าใจด้วยว่าผลจากการที่ลูกติดมือถือมากเกินไป ย่อมส่งผลเสียต่อลูกอย่างมาก วันนี้เราจะชวนให้พ่อแม่มาสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าลูกติดมือถือมากเกินไปดังนี้

เช็คอาการ ลูกเราติดโทรศัพท์เกินไปไหม?

1.ปัจจุบันพบว่าเด็กไทยมีอัตราการติดเกมชนิดที่จัดว่าเป็นโรคถึงขนาดที่ต้องบำบัดรักษาราว10-15% ด้วยเพราะเนื้อหาและรูปแบบของเกมที่สนุก ช่วยสร้างความสุขได้ดี บวกกับเทคโนโลยีที่ทำให้สื่อต่างๆ กลายเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวและเข้าถึงง่าย ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองควบคุมดูแลได้ยาก หรือมักปล่อยให้เป็นความสุขของลูกเพราะตัดรำคาญที่จะเกิดปัญหาความขัดแย้งกับลูก ท้ายที่สุดอาจส่งผลกระทบถึงสุขภาพ เพราะเมื่อลูกติดมือถือมากเกินไป โดยเฉพาะหากมัวแต่เล่นแต่เกมมือถือก็อาจทำให้สมองฝ่อ และมีผลกระทบต่างๆ ตามมา ดังนี้

 

2.สุขภาพร่างกายผิดปกติ เด็กจะเริ่มมีอาการปวดศีรษะ ปวดตา ปวดต้นคอ และปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ บางรายถึงขั้นกล้ามเนื้อตาโดนทำลายจนต้องผ่าตัดรักษาก็มี ในเด็กบางคนก็อาจเป็นโรคขาดสารอาหาร หรือโรคอ้วนที่เกิดจากการนั่งนิ่งๆ ใช้แต่มือกดจอโทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานานๆ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดต่างๆ ร่วมด้วย

 

3.สมองเล็กลง ขาดการพัฒนา ในทางการแพทย์พบว่าเด็กที่เล่นมือถือนานๆ ติดต่อกัน 2 ชั่วโมง ต่อเนื่องกัน 2 ปี มีผลให้ขนาดของสมองบางส่วนเล็กลง ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากการสแกน MRI อย่างชัดเจน ทำให้พัฒนาการของเชาว์ปัญญาไม่ดี เช่น มีกระบวนการฝึกคิด การเรียนรู้และการแก้ปัญหาที่เชื่องช้า ไม่พัฒนาเท่าที่ควร แถมเสี่ยงเป็นโรคสมาธิสั้นในเด็กได้อีกด้วย

 

4.เข้าสังคมยาก ความสัมพันธ์ครอบครัวแย่ ทักษะการเข้าสังคมเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้มากของเด็กกลุ่มนี้ เพราะได้สูญเสียเวลาไปกับการเล่นมือถือซะส่วนใหญ่ จนทำให้ขาดการพัฒนาทักษะในด้านนี้ และส่งผลกระทบอย่างมากในความสัมพันธ์ระดับครอบครัว

 

5.อารมณ์รุนแรง พฤติกรรมก้าวร้าว กรณีของเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี มักพบปัญหาในลักษณะของการโวยวายที่รุนแรงกว่าเด็กทั่วไปที่ไม่ติดการเล่นมือถือ และจะชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ เมื่อโตขึ้น โดยเริ่มจากลักษณะการพูดที่ก้าวร้าว การแสดงออกที่รุนแรงและมีสภาวะอารมณ์ที่ผิดปกติไป ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลได้ง่ายกว่าเด็กกลุ่มอื่น

เช็คอาการ ลูกเราติดโทรศัพท์เกินไปไหม?

5 อาการที่บ่งบอกว่าลูกติดมือถือมากเกินไป

-ละเลยในหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ

-มีอาการหงุดหงิดและโมโหรุนแรง

-ไม่สนใจในกิจกรรมที่ชอบ

-เลิกทำกิจกรรมที่เคยชอบทำ

-ไม่สามารถควบคุมเวลาการเล่นมือถือของตัวเองได้

เช็คอาการ ลูกเราติดโทรศัพท์เกินไปไหม?

แก้ไขอย่างไรดี?

หากเด็กเกิดพฤติกรรมติดมือถือ จะส่งผลทั้งในด้านพฤติกรรม ความเครียด ทั้งต่อตัวเด็กและคุณพ่อคุณแม่ด้วย ซึ่งทำให้กระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวไปด้วยคุณพ่อคุณแม่จะจัดการกับปัญหานี้อย่างไรดี? อันดับแรกคือการเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) ให้กับลูก และปรับพฤติกรรมให้ลูกมีการใช้มือถืออย่างเหมาะสม

 

1.กำหนดเวลาเล่นมือถือให้ชัดเจน จำกัดเวลาในการใช้งานให้เหมาะสมตามวัย

2.สร้างกิจกรรมทดแทน พ่อแม่เล่นกับลูกเยอะๆ ทำกิจกรรมร่วมกับเด็กๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการ

3.สานความสัมพันธ์ ไม่ใช่ตามใจ ให้โอกาสเด็กๆ ได้เล่นอิสระ กับเพื่อนๆ ตามความเหมาะสม

4.เลือกประเภทเกมที่เหมาะสม ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่กับหน้าจอตามลำพัง ควรให้คำแนะนำเนื้อหาที่ดูกับเด็กไปด้วย

5.พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก เลิกนิสัยติดหน้าจอตลอดเวลา

6.ไม่เก็บมือถือไว้ในห้องนอน ไม่ควรซื้อมือถือ แท็บเล็ตให้เด็กๆ ใช้ส่วนตัว

มือถือใช้ได้เมื่อไร?

-แนะนำให้เริ่มใช้มือถือได้เมื่อเด็กอายุ 3 – 4 ปี และควรจำกัดเวลาในการเล่นไม่เกิน 60 นาที/วัน

-เด็กแรกเกิด – 2 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือถือ แท็บเล็ต

รักษาโรคสมาธิสั้น  พ่อ-แม่ นั้นสำคัญที่สุด  ถึงแม้การใช้เทคโนโลยี  จะเข้ามีบทบาทสำคัญก็ตาม แต่ก็ควรจะเลือกใช้งานให้พอดี เช่น ใช้งานเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน หรือ เสริมพัฒนาการของลูก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรปล่อยให้ลูกเล่นตามลำพัง เพราะหากปล่อยให้ลูกเสพติดเทคโนโลยีมากเกินความจำเป็น ก็จะส่งผลตามมาดังกล่าวได้

 

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้

Most Popular

Recent Comments