1win aviatormostbet aviatormostbetluckyget1 win indiamosbetpin upone win gameпинапpin up casino online1win online1 win onlinepin up kzmosbet indiamosbetmostbetaviatormosbetmosbetpinupmosbet aviatorparimatchmosbet india4era betpinap1 win4rabet gamelucky jet online4rabet1win saytiparimatchpin up casino1 win1win lucky jetpin up betlucky jetmostbet casinomostbet1win casinopin up betting4rabet bdlukyjet1win apostalucky jet crashaviator mostbet1 win1win slotpin-up1winmostbet azmostbet az
วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 9, 2024
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้
หน้าแรกการเงินสิ่งที่ลูกหนี้ควรรู้ เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ มีอะไรบ้าง?

สิ่งที่ลูกหนี้ควรรู้ เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ มีอะไรบ้าง?

ข่าวการเงิน หลายคน ที่อยู่ในฐานะ “ลูกหนี้” อาจยังไม่รู้ว่า ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ประเทศไทยเรา มีหลักเกณฑ์การคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บังคับใช้แล้ว เป้าหมายสูงสุด เพื่อเป็นการช่วยลูกหนี้ตลอดวงจรหนี้ ตั้งแต่ก่อน/กำลังจะเป็นหนี้ และระหว่างเป็นหนี้ เมื่อลูกหนี้มีปัญหาชำระหนี้ จากเหตุฉุกเฉินต่างๆ

โดยมีการประกาศใช้ พร้อมๆ กับ มาตรการใหญ่ อย่างการปรับโครงสร้างหนี้ ที่เปิดให้ลูกหนี้ ขอเข้าปรับโครงสร้างหนี้ได้ ในช่องทางต่างๆ ตั้งแต่ต้นปี 2567 ที่ผ่านมา

เจาะ สิ่งที่ลูกหนี้ควรรู้ เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ มีอะไรบ้าง? 

  1. รู้สิทธิและข้อมูลสำคัญ เช่น เลือกช่วงเวลาเบิกสินเชื่อบัตรกดเงินสดได้ รู้อัตราดอกเบี้ยและภาระดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาการกู้ ทั้งกรณีการจ่ายปกติ การจ่ายขั้นต่ำและการผิดนัดชำระ รวมถึง รู้ข้อดี-ข้อเสีย ของการแก้หนี้วิธีการต่างๆ
  2. รู้ช่องทางร้องเรียน หากได้รับบริการไม่เป็นธรรม สามารถติดต่อร้องเรียนได้ที่ Call Center ของผู้ให้บริการแต่ละแห่ง รวมถึงการขอคำปรึกษาหรือร้องเรียนมาที่ ธปท. หรือ โทร 1213

ขณะเดียวกัน นับตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นมา เจ้าหนี้ต้องดูแลคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ให้เป็นธรรมยิ่งขึ้น ได้แก่ 

  • การคิดดอกเบี้ย/ค่าธรรมเนียมให้เป็นธรรม เช่น ไม่คิดค่าปรับไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด (Prepayment fee) สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลทุกประเภท ยกเว้นกรณี Refinance สินเชื่อบ้านในช่วง 3 ปีแรก เพื่อให้ลูกหนี้ยังมีโอกาสได้ดอกเบี้ยต่ำอยู่ (Teaser Rate) และ ไม่คิดค่าธรรมเนียมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ยกเว้นค่าประเมินราคาหลักประกัน ซึ่งจำเป็นต้องนำข้อมูลดังกล่าว มาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดเงื่อนไขการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ นอกจากนี้ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2567 เจ้าหนี้จะต้องไม่คิดดอกเบี้ยทบต้นของสินเชื่อรายย่อยทั้งหมดด้วย
  • การไม่บังคับให้ลูกหนี้กดเงินทันที หลังได้รับอนุมัติสินเชื่อบัตรกดเงินสด
  • การให้ข้อมูลสำคัญถูกต้องครบถ้วนและเปรียบเทียบได้ เช่น ผ่านสื่อโฆษณา การเสนอขาย และการแก้หนี้
  • การแจ้งเตือนกระตุ้นการชำระหนี้อย่างมีวินัย

เปิด 2 ช่องทาง ลูกหนี้ติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อขอความช่วยเหลือ

ทั้งนี้ สำหรับ ช่องทางที่ลูกหนี้สามารถใช้ในการติดต่อเจ้าหนี้ มีดังนี้ 

  1. ลูกหนี้สามารถติดต่อเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาปัญหาหนี้และขอปรับโครงสร้างหนี้ได้โดยตรง ผ่านสาขาของสถาบันการเงิน Call Center เจ้าหน้าที่สินเชื่อ หรือฝ่ายงานที่ดูแลสินเชื่อของลูกหนี้
  2. ช่องทางเสริมของ ธปท. เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ ได้แก่

ทางด่วนแก้หนี้ เป็นช่องทางเสริมออนไลน์สำหรับประชาชนในการขอความช่วยเหลือด้านการผ่อนชำระหนี้ โดยสามารถลงทะเบียนผ่านช่องทาง https://app.bot.or.th/1213/DebtCase

หมอหนี้เพื่อประชาชน เป็นช่องทางให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาหนี้อย่างครบวงจรแก่ลูกหนี้รายย่อยและ SMEs โดยติดต่อผ่านช่องทาง https://app.bot.or.th/doctordebt

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้

Most Popular

Recent Comments