1win aviatormostbet aviatormostbetluckyget1 win indiamosbetpin upone win gameпинапpin up casino online1win online1 win onlinepin up kzmosbet indiamosbetmostbetaviatormosbetmosbetpinupmosbet aviatorparimatchmosbet india4era betpinap1 win4rabet gamelucky jet online4rabet1win saytiparimatchpin up casino1 win1win lucky jetpin up betlucky jetmostbet casinomostbet1win casinopin up betting4rabet bdlukyjet1win apostalucky jet crashaviator mostbet1 win1win slotpin-up1winmostbet azmostbet az
วันจันทร์, พฤษภาคม 20, 2024
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้
หน้าแรกท่องเที่ยวศรัทธาเนืองแน่น ไทยลาวนับแสน ร่วมแห่พระอุปคุต เปิดงานนมัสการพระธาตุพนม

ศรัทธาเนืองแน่น ไทยลาวนับแสน ร่วมแห่พระอุปคุต เปิดงานนมัสการพระธาตุพนม

นครพนมเนืองแน่นด้วยพลังศรัทธา ชาวไทยลาวนับแสนร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์ แห่พระอุปคุต เปิดงานบุญใหญ่อีสาน บุญเดือนสาม นมัสการองค์พระธาตุพนมวันแรก คาดเงินสะพัดเกือบ 100 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงในเขตเทศบาลตำบลธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม บรรยากาศเปิดงานบุญเดือนสาม นมัสการองค์พระธาตุพนม ประจำปี 2567 กำหนดเปิด 17–25 กุมภาพันธ์ 2567 ภาคเช้ามีการประกอบพิธีสำคัญ ตลอดริมฝั่งน้ำโขงในเขตเทศบาลตำบลธาตุพนม ได้มีประชาชนนักท่องเที่ยว พลังศรัทธา ข้าโอกาสพระธาตุพนม ต่างนำเครื่องสักการบูชา รวมถึงดอกดาวเรือง มาร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์แห่พระอุปคุต ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ สืบทอดมาแต่โบราณ เชื่อกันว่าสืบทอดมาแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เนื่องจากพระอุปคุตเป็นสาวกพระพุทธเจ้า และมีความศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ที่สามารถคุ้มครองภัยปกปักรักษางานประเพณีต่างๆ ได้

สำหรับพิธีแห่อุปคุต จะประกอบขึ้นในช่วงเช้า ก่อนการเปิดงานวันแรก ของงานนมัสการองค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี ภายในบรรจุพระอุรังคธาตุหรือกระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า ถือเป็นบุญใหญ่ของชาวอีสาน ที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ปี 2519

โดยเชื่อกันว่า ก่อนที่จะเริ่มงานนมัสการวันแรก จะต้องมีการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ ตามประเพณีความเชื่อ คือ อัญเชิญองค์พระอุปคุตมาปกปักรักษาให้งานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตลอด 9 วัน 9 คืน โดยถือเป็นงานประจำปีบุญใหญ่อีสานที่กระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว มีเงินหมุนเวียนสะพัดเกือบ 100 ล้านบาท ทำให้ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก ถูกจับจองเต็ม

ทั้งนี้ งานนมัสการองค์พระธาตุพนม จัดขึ้นเดือนมกราคม ของทุกปี หรือในช่วง วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จนถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 3 ถือเป็นงานบุญประเพณีใหญ่ของชาวอีสาน ที่สืบทอดกันมายาวนาน ตั้งแต่ปี 2519 ยาวนานกว่า 40 ปี โดยจากประวัติความเป็นมา ตามตำนานความเชื่อ พระอุรังคนิทาน ระบุไว้ว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางอากาศ เพื่อไปบิณฑบาต ที่เมืองศรีโคตรบูร สปป.ลาว ภายหลังได้มาประทับแรมที่ภูกำพร้า คือ จุดที่ก่อสร้างองค์พระธาตุพนมในปัจจุบัน จากนั้นพญาอินทร์ ได้เสด็จมาทูลถาม ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า เช่นกันกับพระพุทธองค์ เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสะปะ ผู้เป็นสาวก จะได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้เช่นกัน

ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระมหากัสสะปะ ผู้เป็นสาวก ได้ร่วมกันสร้างองค์พระธาตุพนมขึ้น เพี่ออัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาประดิษฐาน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-14 หรือในราวปี พ.ศ. 8 สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร กำลังเจริญรุ่งเรือง โดยการนำของพญาเจ้าเมืองทั้ง 5 และพระอรหันต์ 500 องค์ ซึ่งในยุคแรก ได้ก่อสร้างจากดินดิบ เป็นเตาสี่เหลี่ยม ข้างในเป็นโพรงมีประตูทั้ง 4 ด้าน จากนั้นได้มีการบูรณะ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 500 และทำการบูรณะต่อเนื่องมารวมถึง 6 ครั้ง

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 พระธาตุพนมได้พังทลายลง เนื่องจากฐานเก่าแก่ ทำให้เป็นที่ฮือฮา เพราะได้พบเห็นผอบแก้ว บรรจุพระอุรังคธาตุ 8 องค์ ไว้ภายใน และมีการลงเข็มรากสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ เมื่อปี 2519 เป็นเจดีย์ทรงฐาน 4 เหลี่ยม ความสูง จากพื้นถึงยอดฉัตร 57 เมตร ฐานกว้างด้านละประมาณ 12 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำน้ำหนักกว่า 10 กิโลกรัม ภายในได้บรรจุพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนหน้าอก ของพระพุทธเจ้า

จากนั้นจึงได้มีการจัดพิธีเฉลิมฉลอง บูชาองค์พระธาตุพนม จนสืบทอดมาถึงปัจจุบันทุกปี ที่สำคัญถือเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ ส่งผลดีทั้งการท่องเที่ยว และสร้างเศรษฐกิจ เงินหมุนเวียนสะพัดปีละหลาย 100 ล้านบาท ส่วนยอดทำบุญ มีพลังศรัทธาร่วมบริจาคปีละไม่ต่ำกว่า 20-30 ล้านบาท

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้

Most Popular

Recent Comments