1win aviatormostbet aviatormostbetluckyget1 win indiamosbetpin upone win gameпинапpin up casino online1win online1 win onlinepin up kzmosbet indiamosbetmostbetaviatormosbetmosbetpinupmosbet aviatorparimatchmosbet india4era betpinap1 win4rabet gamelucky jet online4rabet1win saytiparimatchpin up casino1 win1win lucky jetpin up betlucky jetmostbet casinomostbet1win casinopin up betting4rabet bdlukyjet1win apostalucky jet crashaviator mostbet1 win1win slotpin-up1winmostbet azmostbet az
วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 9, 2024
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้
หน้าแรกบ้านและสวนมาทำความรู้จัก "มะพร้าวทะเล" หรือ มะพร้าวแฝด ทำไมถึงแพง?

มาทำความรู้จัก “มะพร้าวทะเล” หรือ มะพร้าวแฝด ทำไมถึงแพง?

มาทำความรู้จัก “มะพร้าวทะเล” หรือ มะพร้าวแฝด ทำไมถึงแพง? มะพร้าวทะเล หรือ มะพร้าวแฝด (LODOICEA MALDIVICA) เป็นพืชตระกูลปาล์ม มีชื่อเรียกอื่นว่า มะพร้าวก้นสาว หรือ ตาลทะเล ส่วนในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Coco de mer แปลตรงตัวว่า มะพร้าวทะเล สาเหตุที่มีชื่อเรียกเช่นนี้มาจากเรื่องเล่าเกี่ยวกับนักเดินเรือในอดีต ที่มักจะพบผลไม้ชนิดดังกล่าวลอยอยู่ในมหาสมุทร แต่กลับไม่มีใครเคยเห็นต้นของมัน จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่าลำต้นของพืชชนิดนี้อาจโตอยู่ใต้น้ำ

มาทำความรู้จัก

มาทำความรู้จัก “มะพร้าวทะเล” หรือ มะพร้าวแฝด ทำไมถึงแพง? 

ประวัติมะพร้าวทะเล กษัตริย์ในมัลดีฟออกกฎว่า ผู้ใดพบเห็นมะพร้าวทะเล แล้วไม่นำไปถวายพระองค์จะถูกลงอาญาถึงขั้นประหารชีวิต มะพร้าวทะเลจะพบมากที่สุดในทะเลตามหมู่เกาะมัลดีฟ ด้วยเหตุนี้จึงมีคนเรียกชื่อมะพร้าวทะเลนี้ว่า มะพร้าวมัลดีฟ เช่นกัน

นอกจากนี้ ยังพบในทะเลแถวอารเบีย ศรีลังกา และอินเดียใต้ เกาะสุมาตรา และชายฝั่งแหลมมลายูอีกด้วย แต่เนื่องจากเจอแถวหมู่เกาะมัลดีฟมากกว่าที่อื่น จึงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็นภาษาละตินอีกว่า Lodoicea maldivica

ในอดีตราชินีแห่งโปรตุเกสเคยสั่งให้นำมะพร้าวทะเลไปถวายพระองค์บ่อยครั้ง แม้แต่กษัตริย์รูดอล์ฟก็ยังทรงเคยจ่ายทองจำนวน 4,000 ฟลอรีน (ฟลอรีนละ 3.88 กรัม รวมเป็นทองหนัก 15,522 กรัม หรือประมาณ 9.4 ล้านบาท) เพื่อซื้อมะพร้าวทะเลเพียงใบเดียวจากครอบครัวของกัปตันวอลเฟิร์ต เฮอร์มันส์เซน (Wolfert Hermanszen) ชาวดัตช์

มาทำความรู้จัก

ซึ่งกัปตันคนนี้ได้รับพระราชทานลูกมะพร้าวทะเลนั้นจาก สุลต่านฮาโญโกรวาตี (Sultan Hanyokrowati ทรงมีพระนามเดิมว่า มัสโจลัง Mas Jolang) กษัตริย์แห่งบันตัม บนเกาะชวาตะวันตก (ครองราชย์ระหว่างปี 1601-1613 มีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาเมื่อขึ้นครองราชย์) เนื่องจากกัปตันวอลเฟิร์ตได้ช่วยต่อสู้ เพื่อขับไล่ทัพเรือโปรตุเกสออกจากบันตัมปี ค.ศ. 1602 แต่กลับต้องตกภายใต้ฮอลแลนด์ในเวลาต่อมา

ชาวมลายูในอดีตเชื่อว่ามะพร้าวทะเลมีต้นเพียงต้นเดียวอยู่ใต้ทะเล ซึ่งอยู่ในเขตทะเลใต้ ที่สะดือทะเลมีน้ำวน มียอดขึ้นเหนือน้ำ ซึ่งพญาครุฑใช้ทำรัง ต้นไม้นี้ว่านามว่าปาโอะห์ ญังกี (Pauh Janggi) แปลว่า มะม่วงญังกี ซึ่งกลายเป็นนิยายที่ใช้เล่นหนังมลายู

มีบางครั้งบางคราวที่คนเถื่อนเก็บลูกมะพร้าวทะเลได้จากฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของสุมาตรา แล้วเอามาขายในเมืองปาดัง (Padang) และปรีอามัง (Priamang) บรรดาเจ้าชายมลายูยอมจ่ายในราคามหาศาลเพื่อให้ได้ครอบครองผลไม้วิเศษนี้ ในอินเดียเรียกมะพร้าวทะเลว่า ดัรยาย นาริยาล (แปลว่า มะพร้าวแห่งทะเล)

ต่อมาเพี้ยนเป็น ญาฮารี ในสำเนียงบอมเบย์ ซึ่งแปลว่า “มีพิษ” พวกฟากีรจึงท้าทายพิษของมันด้วยการเอากะลามาทำเป็นภาชนะใส่อาหาร ชาวฮินดูในอินเดียเอามะพร้าวตั้งแท่นแล้วกราบไหว้บูชาเสมือนเป็นโยนีของเจ้าแม่ (Philip Rawson, Tantra : Indian Cult of Ecstasy, p. 23) ในภาษามัลดีฟเรียกมะพร้าวทะเลนี้ว่า ตาวา กัรฮี (Tava Karhi) ซึ่งคำว่า กัรฮี แปลว่า มะพร้าว

มะพร้าวทะเลนี้มีรูปร่างเหมือนมะพร้าวแฝด สองลูกติดกัน อังกฤษเรียกมะพร้าวทะเลอย่างง่าย ๆ ว่า ดับเบิลโคโคนัท (Double coconut) แปลว่า มะพร้าวคู่ ชาวมัลดีฟใช้มะพร้าวทะเลนี้ทำเป็นอาหารและเครื่องดื่ม และเชื่อว่าเป็นยาทิพย์รักษาสารพัดโรค สามารถแก้พิษ และที่สำคัญที่สุดคือเป็นไวอากร้าของสมัยนั้น

 

ทำไมถึงเรียกว่ามะพร้าวทะเล

“มะพร้าวทะเล” สาเหตุที่ถูกขนานนามอย่างนี้ก็เพราะว่า พวกเดินเรือในอดีตจะพบลูกมะพร้าวทะเลอยู่ในมหาสมุทร แต่ไม่มีใครพบเห็นต้นของมัน จึงสันนิษฐานว่าคงมีต้นอยู่ใต้ทะเล บ้างก็ไปไกลยิ่งกว่านั้น คือเชื่อว่าคงเป็นผลไม้จากสวรรค์แน่ ๆ และอาจจะเป็นผลไม้แห่งความอมตะ ที่อีฟ ภรรยาอาดัมถูกหลอกให้กินก็ได้ นาน ๆ ครั้งจะมีผู้พบเห็นมะพร้าวทะเลถูกคลื่นซัดเข้าฝั่ง

 

มะพร้าวทะเลจึงกลายเป็นของแปลกและหายากยิ่งกว่าเพชรพลอย และแน่นอนผลไม้พิสดารนี้ก็จะถูกนำไปถวายให้แก่คนที่สำคัญที่สุดในแผ่นดิน นั่นคือกษัตริย์หรือสุลต่าน ไว้ประดับบารมีหรือเป็นยาวิเศษรักษาสารพัดโรค

มะพร้าวทะเลในปัจจุบัน

มะพร้าวทะเลได้รับการกล่าวถึงในหนังสือกินเนสส์ว่าเป็นเมล็ดผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนักถึงลูกละ 20 กิโลกรัม กว่าผลจะสุกต้องใช้เวลา 7 ปี กว่าจะเติบโตออกดอกออกผลได้ต้องมีอายุ 20 ปี ถึง 40 ปี และมีอายุยืนถึง 400 ปี แบ่งออกเป็นเพศผู้และเพศเมีย ผลตั้งบนดินหนึ่งปีถึงจะมีรากแก้วงอกออกมาแล้วชอนไชเข้าไปในดิน มีความยาวหลายฟุต

 

ก่อนที่จะเริ่มมีใบออกมาปีละ 1 ใบ เพศผู้มีลำต้นสูงถึง 30 เมตร ในปี ค.ศ. 1983 องค์การยูเนสโกได้ระบุให้ Valee de Mai ป่าที่มีต้นมะพร้าวทะเลขึ้นเป็นป่าสงวน สำหรับในประเทศไทย มะพร้าวทะเลมีปลูกและครอบครองเพียงไม่กี่แห่ง ได้แก่ สวนนงนุช ที่พัทยา

 

ซึ่งสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จ นับเป็นเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่สามารถทำเช่นนี้ได้ และสวนแสนปาล์ม ที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และมีราคาซื้อขายที่แพงมาก เคยมีการตั้งราคาขายเฉพาะกะลาที่แห้งแล้วไม่สามารถนำไปเพาะปลูกได้ถึงลูกละ 26,000 บาท

 

มะพร้าวทะเล ในประเทศไทย

มะพร้าวทะเล ในไทยกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งเมื่อ เพจสวนนงนุช พัทยา Nongnooch Garden Pattaya ได้โพสต์ภาพขณะปอกมะพร้าวขนาดยักษ์ พร้อมระบุว่า “สวนนงนุชพัทยา ปอกมะพร้าวแฝด สุก 11 ลูก ลูกแฝด 4 ลูก นำเมล็ดไปขยายพันธุ์เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ไม้หายาก”

 

ที่ สวนนงนุชพัทยา โดยคุณกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุชพัทยา โชว์ลูกมะพร้าวทะเล หรือมะพร้าวแฝด จำนวน 11 ลูก ที่สุกและปอกเปลือกให้ชม พร้อมนำไปขยายพันธุ์ ซึ่งในจำนวนนี้มีลูกมะพร้าวแฝด จำนวน 4 ลูก คือ มีกะลา 2 ใบใน 1ลูก

 

คุณกัมพลเปิดเผยว่า สำหรับมะพร้าวทะเล หรือมะพร้าวแฝด จัดเป็นปาล์มชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่บนเกาะเล็กๆ ในหมู่เกาะซีเซลล์ในมหาสมุทรอินเดีย มีเมล็ดขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเมล็ดปาล์ม ส่วนมะพร้าวทะเลที่ปอกให้ชมในวันนี้ สวนนงนุชพัทยาจะนำไปปลูก 2 ต้นเพื่อขยายพันธุ์พืชและการอนุรักษ์พันธุ์ไม้หายากต่อไป

 

ปัจจุบัน สวนนงนุชพัทยามีมะพร้าวทะเล 38 ต้น เป็นเพศผู้ 4 ต้น เพศเมีย 9 ต้น ส่วนอีก 25 ต้น ยังไม่ทราบเพศ สำหรับมูลค่าผลมะพร้าวทะเล หรือมะพร้าวแฝด อยู่ที่ประมาณผลละ 100,000 บาท ส่วนลูกที่มีกะลา 2 ใบมีมูลค่า 200,000 บาท สวนนงนุชพัทยายังมีพันธุ์ปาล์มต่างๆมากถึง 1,567ชนิด และกว่า 200 ชนิด มีที่สวนนงนุชพัทยาเท่านั้น ซึ่งได้รับการรับรองจากสมาคมปาล์มนานาชาติว่ามีปาล์มมากชนิดที่สุดในโลก จากการเป็นเจ้าภาพในการจัดงานประชุมปาล์มนานาชาติ (International Palm Society 1998 หรือ IPS 1998)การประชุมปาล์มนานาชาติจัดขึ้นในปี พ.ศ 2541และ พ.ศ 2555

 

อนึ่งในประเทศไทย มะพร้าวทะเลมีการปลูกและครอบครองเพียงไม่กี่แห่ง อาทิ สวนนงนุช ที่พัทยา โดยสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จ นับเป็นเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่สามารถทำเช่นนี้ได้ และสวนแสนปาล์มที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และมีราคาซื้อขายที่แพงมาก เคยมีการตั้งราคาขายเฉพาะกะลาที่แห้งแล้วไม่สามารถนำไปเพาะปลูกได้ถึงลูกละ 26,000 บาท

 

ด้านผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวทะเล ในอดีตผู้คนนิยมเอากะลาของมะพร้าวทะเลไปทำเป็นลูกประคำ เรียกในภาษามลายูว่า Buah tasbih koka (ลูกประคำโขะขะ) หรือแบ่งเป็นสองซีก เพื่อทำเป็นภาชนะเรียกว่า กัชกูล ซึ่งพวกฟากีรหรือพวกขอทานจะใช้เหมือนบาตร เพื่อขออาหารจากชาวบ้าน

 

นอกจากนี้ มีความเชื่องมงายเกี่ยวกับลูกประคำโขะขะหลายอย่าง เช่น เป็นเครื่องรางของขลัง เป็นยารักษาโรค บางคนซื้อลูกปาล์มดังกล่าวจากประเทศอาหรับกลับมาเจียระไนทำเป็นลูกประคำ โดยสำคัญผิดคิดว่าเป็นลูกมะพร้าวทะเล ซึ่งพวกเขาจะเก็บขี้เลื่อยมาขายเป็นยารักษาสารพัดโรค

 

อนึ่ง สาเหตุที่ มะพร้าวทะเล ในประเทศไทยมีราคาแพง เนื่องจากมีจำนวนน้อย ผู้ที่ลงทุนจ่ายราคาแพงซื้อลูกมะพร้าวทะเลไป ส่วนใหญ่ต้องการที่จะนำไปเพาะพันธุ์เพื่อปลูกต้นใหม่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

RELATED ARTICLES

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

- Advertisment -
ติดตั้ง เดลิเวอรี่ แอป ได้แล้ววันนี้

Most Popular

Recent Comments