นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงการคลัง แบงก์ชาติออกหลักเกณฑ์ตั้งvirtual bankเปิดขอไลเซนส์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) เพื่อเปิดให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี การให้บริการดิจิทัล และการใช้ข้อมูลที่หลากหลาย เข้ามาให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ผ่านช่องทางดิจิทัล เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่มได้ดียิ่งขึ้น
บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ผ่านช่องทางดิจิทัล
เพื่อให้ได้ Virtual Bank ที่สร้างประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะผู้ใช้บริการรายย่อยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ยังไม่ได้รับบริการทางการเงินอย่างเพียงพอหรือตรงความต้องการ สร้างประสบการณ์ในการใช้บริการทางการเงินที่ดีขึ้นแก่ผู้ใช้บริการ รวมทั้งช่วยกระตุ้นการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินไทยอย่างเหมาะสม โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงิน หรือเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของผู้ฝากเงินหรือผู้ใช้บริการในวงกว้าง ข่าวเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ Virtual Bank ที่สร้างประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจการเงินไทยได้อย่างยั่งยืนตามเป้าหมายข้างต้น ธปท. จะพิจารณาคำขออนุญาต โดยให้ความสำคัญกับคุณสมบัติ ศักยภาพ และความสามารถของผู้ขออนุญาตในการประกอบธุรกิจ Virtual Bank ตามรูปแบบและแผนที่เสนอมา ทั้งในด้าน
รายละเอียดดังนี้
(1) ประสบการณ์ ทรัพยากร และความสามารถในการดำเนินธุรกิจ Virtual Bank โดยนำเสนอบริการทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่มได้ดียิ่งขึ้น
(2) ธรรมาภิบาลและความสามารถของผู้ขออนุญาตและผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญใน Virtual Bank
(3) ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และความสามารถในการประกอบธุรกิจที่มีการใช้เทคโนโลยีและให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัล
(4) ความสามารถในการใช้และบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ยืดหยุ่น มั่นคง ปลอดภัย และสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการพัฒนาบริการทางการเงินที่ตอบสนองต่อสถานการณ์หรือความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างคล่องตัว
(5) ประสบการณ์และความสามารถในการได้มา เข้าถึง บริหารจัดการ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่หลากหลาย รวมถึงการพัฒนาระบบหรือส่วนเชื่อมต่อข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถนำข้อมูลของตนไปใช้ในการทำธุรกรรมกับผู้ให้บริการรายอื่นภายใต้สิทธิตามกฎหมาย
(6) ความสามารถในการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงิน และ
(7) ความสามารถในการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ Virtual Bank อย่างต่อเนื่องของผู้ถือหุ้นสำคัญ
ศักยภาพและความสามารถในจำนวนที่เหมาะสม
นอกจากนี้ ธปท. จะคำนึงถึงการมีธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ที่มีศักยภาพและความสามารถในจำนวนที่เหมาะสมกับระบบสถาบันการเงินในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการแข่งขันเพื่อประโยชน์ต่อผู้ฝากเงิน ผู้ใช้บริการ และระบบเศรษฐกิจการเงินไทยโดยรวม โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ
เปิดผู้ท้าชิงแข่งสนาม Virtual Bank ที่ล่าสุดมีทั้งแบงก์พาณิชย์ ค่ายมือถือ และบริษัทในตลาดหุ้น เล็งเสนอตัวแข่งขันคว้าใบอนุญาต ส่วนจะตกอยู่ในมือใครต้องรอลุ้นต่อ
เปิดผู้ท้าชิงแข่งสนาม Virtual Bank ที่ล่าสุดมีทั้งแบงก์พาณิชย์ ค่ายมือถือ และบริษัทในตลาดหุ้น เล็งเสนอตัวแข่งขันคว้าใบอนุญาต ส่วนจะตกอยู่ในมือใครต้องรอลุ้นต่อ
หลังกระทรวงการคลังออกประกาศอย่างเป็นทางการ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) เพื่อเพิ่มประเภทและจำนวนผู้ให้บริการทางการเงินซึ่งจะเป็นการเพิ่มระดับการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินและส่งผลดีต่อประชาชน ด้วยหวังยกระดับประสิทธิภาพของระบบการเงินและช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
คุณสมบัติมีโอกาสได้ประกอบธุรกิจ แบงก์ชาติออกหลักเกณฑ์ตั้งvirtual bankเปิดขอไลเซนส์
ทั้งนี้แม้กระทรวงการคลังจะแย้มว่าเปิดโอกาสให้แก่ผู้ขออนุญาต Virtual Bank ที่มีศักยภาพและผ่านคุณสมบัติมีโอกาสได้ประกอบธุรกิจ โดยไม่ได้กำหนดจำนวนใบอนุญาตไว้แต่อย่างใด พร้อมย้ำว่าให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเป็นฝ่ายพิจารณาเองว่าผู้เหมาะสมรายใดจะคว้าไป ภายใต้กรอบที่จะช่วยกระตุ้นการแข่งขัน เพื่อประโยชน์ต่อผู้ฝากเงิน ผู้ใช้บริการ และระบบเศรษฐกิจการเงินไทยโดยรวม และไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบ โดยจะเปิดรับยื่นคำขอตั้ง Virtual Bank ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม ถึง 19 กันยายน 67 และคาดว่าจะจัดตั้งธนาคารไร้สาขาได้ภายในครึ่งหลังของปี 2568
ทว่าก่อนนี้ทางแบงก์ชาติโดย ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เคยเปิดมาแล้วว่าควรมีผู้ให้บริการ Virtual Bank เพียง 3 รายเท่านั้นจึงจะเหมาะสม ขณะที่ตอนนี้มีผู้ท้าชิงที่ออกตัวกันมามากกว่าจำนวนที่แบงก์ชาติอยากเห็นไปแล้ว มาดูดันว่าล่าสุดมีใครกันบ้าง
เริ่มจากหนึ่งในกลุ่มสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของไทยอย่าง บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ที่ นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคยให้ความเห็นผ่านทางสื่อแล้วว่า นโยบายขับเคลื่อน Virtual Bank เป็นโจทย์สำคัญลำดับต้น ๆ ในปีนี้ จึงกำลังศึกษานโยบายของธปท.และมองหาพันธมิตรอื่น ๆ ที่เป็นบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก นอกจากจาก KakaoBank ที่เคยประกาศความร่วมมือไปก่อนหน้านี้
ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ทั่วถึง แบงก์ชาติออกหลักเกณฑ์ตั้งvirtual bankเปิดขอไลเซนส์
ทั้งนี้มองว่าธนาคารไร้สาขาจะเป็นเครื่องมือที่สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการทางการเงินให้แก่คนรายได้น้อยให้มีทางเลือกเพิ่ม ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้ทั่วถึง และชวยให้ผู้กู้จ่ายดอกเบี้ยที่เป็นธรรม
โดยย้ำว่าเป้าหมายหลักของ Virtual Bank เพื่อให้มีหน่วยงานหรือธนาคารรูปแบบใหม่มาช่วยเปิดโอกาสให้คนที่มีรายได้น้อย สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ แบบที่มีความป็นธรรม และมีเหตุผล กว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้ ด้วยจะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่จะแก้ปัญหาหนี้ ลดภาระดอกเบี้ยของประชาชนได้ แม้อาจจะไม่ใช่คำตอบ หรือทางออกทั้งหมด แต่การเพิ่มรายได้ ระยะกลางระยะยาว การลดภาระดอกเบี้ยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การเปิดโอกาสในการเข้าถึงทางการเงิน ย่อมทำให้ประชาชนหรือลูกหนี้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างที่ควรจะเป็นมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีอีกกลุ่มกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ที่เป็นอีกผู้ท้าชิงที่ต้องจับตามอง เพราะเป็นการจับมือขององค์กรธุรกิจแถวหน้าในหลายอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 4 พันธมิตร คือได้แก่ บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR, ธนาคารกรุงไทย บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ ADVANC และ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF ที่ล่าสุดต่างมีตัวแทนของทั้ง 4 พันธมิตรออกมาอัปเดตความคืบหน้าของการจับมือระหว่างพันธมิตและบทบาทของธนาคารไร้สาขาที่จะมาเติมเต็มและผนึกกับธุรกิจเดิมให้แข็งแกร่งขึ้น อย่างไร โดยกลุ่มนี้คาดว่ามีทุนจดทะเบียนตั้งต้นสำหรับ Virtual Bank ที่ราว 5 พันล้านบาท
อีกหนึ่งผู้แข่งขันล่าใบอนุญาตธนาคารไร้สาขาจากค่าย CP อย่าง True Money ก็เริ่มขยับแล้วเช่นกัน โดยล่าสุดนางสาวมนสินี นาคปนันท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) บริษัท แอสเซนด์ มันนี่ จำกัด กล่าว ว่า การที่ธปท. อนุญาตให้จัดตั้ง Virtual Bank นั้น ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีของผู้เล่นทั้งรายเก่าและรายใหม่ในประเทศไทย เพราะเชื่อว่า การมาของธนาคารไร้สาขานี้ จะช่วยเร่งให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ที่จะช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนให้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามเป้าหมายภายในของ True Money ก็คือการทำ IPO รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะผันตัวเป็น Virtual Bank ด้วยมองว่าแพลตฟอร์มีหลายคุณสมบัติที่จะทำธนาคารไร้สาขาได้ ไม่ว่าจะเป็นบริการต่าง ๆ ที่คล้ายกับธนาคาร รวมถึงฐานลูกค้าที่แข็งแรง ดังนั้นบริษัทจึงต้องเร่งสร้างการเติบโตที่แข็งแรงมากพอที่จะทำ IPO และการเป็น Virtual Bank ในอนาคต ทำให้สามารถขยายความเสี่ยงในการปล่อยกู้ไปยังกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น เซกเมนต์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังยืนยันอีกว่าบริษัทสนใจเปิดให้บริการเทคโนโลยีการเงินหลากหลายอยู่แล้วเช่นเดียวกับ Virtual Bank ที่ธปท.เปิดให้ผู้สนใจขอรับใบอนุญาตและกำหนดเกณฑ์เบื้องต้นออกมา
โดยที่ก่อนหน้าที่มีกระแสข่าวสะพัดว่า มีความเป็นไปได้ที่เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือซีพีและศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือซีพี ได้ไปพูดคุยกับ Jack Ma ผู้ก่อตั้ง Alibaba Group เพื่อร่วมมือกันทำธุรกิจธนาคารไร้สาขา
เช่นเดียวกับอีกหนึ่งผู้ท้าชิงอย่างบมจ. เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ JMART ที่ประกาศความพร้อมที่จะเข้าสู่สนามประลองคว้าใบอนุญาต Virtual Bank ทั้งด้าน Ecosystem กลุ่มลูกค้า และเทคโนโลยี ซึ่งจะร่วมมือกับพันธมิตรที่จะมาช่วยเสริมแกร่ง จากการเปิดเผยของนายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (J Ventures) ผู้พัฒนา “JFIN Chain” บล็อกเชนเพื่อธุรกิจ ในเครือ JMART ที่เปิดเผยว่า Virtual Bank เป็นเรื่องใหญ่มาก และเป็นเรื่องที่ต้องคิดว่าต้องทำอย่างไร ซึ่งหากจะต้องทำจริง ๆ จะต้องมีการพิจารณาความเสี่ยงกับโอกาสว่าด้านใดมากกว่ากันก่อน แล้วถึงพิจารณาเรื่องการเป็น Virtual Bank
นายธนวัฒน์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่ทาง JMART ทำอยู่ตลอดทาง คือ บริษัทมี Ecosystem ที่สะสมมาเรื่อย ๆ และกลุ่มบริษัทเป็นคนขายสินค้าให้กลุ่ม Underserved มากที่สุดในประเทศ ถ้ารวม SINGER, JMT และ สุกี้ตี้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับที่ ธปท. ต้องการให้ผู้ได้รับใบอนุญาต Virtual Bank ไปให้บริการกลุ่มคนเหล่านี้ รวมถึงบริษัทมีเทคโนโลยีที่เข้ากับกลไลเหล่านี้อย่างมีนัยสำคัญด้วย
อย่างไรก็ตาม บริษัทอาจจะไม่ได้เก่งในเรื่อง Banking มากนัก รวมทั้ง Ecosystem และเงินของบริษัทอาจจะยังไม่แข็งแรงในเรื่องของขนาด ดังนั้นก็เป็นไปได้ที่ JMART จะไปร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อที่จะทำให้การได้ใบอนุญาต Virtual Bank ดูดีและเป็นบวกมากที่สุด แต่หากยังมีความเสี่ยงอยู่ บริษัทก็คงยังไม่ทำ
สุดท้ายแล้วต้องลุ้นกันต่อว่าผู้ท้าชิงรายใดจะคว้าใบอนุญาต Virtual Bank ไปครอง แต่ที่สำคัญกว่าคือเมื่อถึงเวลาเปิดให้บริการจริง ก็หวังว่าธนาคารรูปแบบใหม่นี้จะแก้ pain point อย่างที่ทั้งแบงก์ชาติและกระทรวงการคลังตั้งใจไว้ได้