รุกตลาด EEC เปิดตัวโรงพญาไทศรีราชา 2
ต้องการผลักดันให้ประเทศไทยโดยเฉพาะเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นศูนย์กลางการแพทย์ครบวงจรของภูมิภาคอาเซียน โดยได้รับเกียรติจาก นายธวัชชัย ศรีทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเป็นประธานภายในงาน
โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา 2 เป็นโรงพยาบาลทั่วไป สามารถรองรับผู้ป่วยนอกได้มากถึง 1500 คนต่อวัน และผู้ป่วยในจำนวนรวมทั้งสิ้น 113 เตียง โดยโรงพยาบาลแห่งนี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการในการให้บริการด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ชลบุรีและใกล้เคียง
เครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล กลุ่ม BDMS
โดยสืบเนื่องมาจากความสำเร็จของโรงพยาบาลพญาไทศรีราชาสาขาแรก ที่ให้บริการแก่ประชาชนมาเป็นเวลากว่า 28 ปี เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล กลุ่ม BDMS ให้บริการด้านการแพทย์เฉพาะทางในหลากหลายสาขา
เน้นการบริการที่ครอบคลุมและมีคุณภาพสูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่ ทั้งผู้ป่วยทั่วไปและผู้ประกันตน จนเป็นที่ไว้วางใจและยอมรับในเขตอุตสาหกรรม EEC (Eastern Economic Corridor) ซึ่งเป็นเขตพัฒนาพิเศษที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ
วิสัยทัศน์ของการพัฒนา
นายอัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล เปิดเผยว่า “โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา เป็นโรงพยาบาลที่ทางกลุ่มมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพการให้บริการรักษาผู้ป่วยมาอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเล็งเห็นว่าทุกขั้นตอนการรักษามีความสำคัญ อีกทั้งความพร้อมของทีมแพทย์เฉพาะทางที่มากประสบการณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จะเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น”
นายอัฐ กล่าวเสริมว่า การพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์เป็นสำคัญของโรงพยาบาล โดยเครือโรงพยาบาลพญาไท-เปาโล ได้สรรหาบุคลากรทางการแพทย์สาขาต่างๆ และมอบทุนการศึกษาต่อสำหรับแพทย์และพยาบาล
รวมถึงจัดระบบการเรียนการสอนพิเศษสำหรับทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น พยาบาล นักวิทยาศาสตร์ เภสัชกร และนักเทคนิคการแพทย์ เพื่อเพิ่มความชำนาญในการรักษาโรคเพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครอบคลุม โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรักษาในกรุงเทพฯ
แอปพลิเคชัน Health Up เพื่อการเข้าถึงที่ง่าย
การนำแอปพลิเคชัน Health Up เข้ามาใช้ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ง่ายจบในคลิกเดียวบนมือถือ เช่น ดูประวัติการรักษา นัดหมายแพทย์ ข้อมูลความรู้สุขภาพ รวมถึงบริการ Telecare
ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขต EEC มีประชากรหลั่งไหลเข้ามาอยู่ในพื้นที่กว่าสี่แสนคน และมี lifestyle ของคนยุคใหม่
ทั้งนี้โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา ได้เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2538 และเริ่มเปิดให้บริการประกันสังคมครั้งแรกเมื่อปี 2542 โดยเน้นคุณภาพและมาตรฐาน
ทำให้เพิ่มยอดผู้ประกันตนได้มากถึง 250,000 คน และได้รับรางวัลโรงพยาบาลประกันสังคมในดวงใจในปีที่ผ่านมา ต่อมาปีนี้ได้รับโควต้าเพิ่มอีก 115,000 คน
เมื่อพิจารณาถึงความต้องการที่เพิ่มเติมของผู้รับบริการ จึงมีการขยายโรงพยาบาลเพื่อรองรับเหล่านี้ ในเขต EEC ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจต่อเนื่อง ความต้องการในการดูแลสุขภาพก็สูงขึ้น เพื่อรองรับผู้ทำงานและกลุ่มแรงงาน ดังนั้น เครือ รพ. พญาไท-เปาโล ได้ลงทุนในการขยายโรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรี
เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในเขต EEC โดยการเปิดตัวโรงพยาบาลใหม่ รพ. พญาไทศรีราชา 2 เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลเดิมและมีความตั้งใจที่จะพัฒนา รพ. พญาไทศรีราชา 2 ให้เป็นศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางการแพทย์ในอนาคต ในปี 2568 เครือ รพ. พญาไท-เปาโล
ยังวางแผนลงทุนในการเปิดดำเนินการโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน จำนวน 225 เตียง เพื่อเป็นที่พึ่งพาทางด้านสุขภาพของชาวชลบุรีและบริเวณใกล้เคียงในอนาคต
รุกตลาด EEC เปิดตัวโรงพญาไทศรีราชา 2 ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไทศรีราชา
ด้าน นายแพทย์ชาญชัย ลี้สมประสงค์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไทศรีราชา ได้ให้ข้อมูลว่า โรงพยาบาลพญาไทศรีราชาแห่งแรก
ได้เปิดให้บริการมาเป็นเวลาเกือบ 3 ทศวรรษ มีการพัฒนาทักษะและความรู้ทางการแพทย์ที่ทันสมัยอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้โรงพยาบาลกลายเป็นที่พึ่งพาของประชาชนในพื้นที่ และผู้ประกันตนได้รับการบริการอย่างคุ้มค่า
กล่าวว่า โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา มุ่งมั่นที่จะเป็นที่พึ่งพาของประชาชนในเขต EEC โดยมุ่งเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม มีระบบที่ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และเครือข่ายที่เข้าถึงได้ง่ายทุกพื้นที่โดยเฉพาะในภาคตะวันออกที่เป็นเขตอุตสาหกรรม
เพื่อให้บริการดูแลประชากรอย่างทั่วถึง จึงมีการขยายบริการให้สามารถรองรับผู้ประกันตนประมาณ 500,000 คน โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา 2 ได้เปิดขึ้นเพื่อรองรับผู้ประกันตนและผู้ป่วยทั่วไป สำหรับโรงพยาบาลพญาไทศรีราชาแห่งแรกจะพัฒนาเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการแพทย์
รองรับผู้ใช้บริการระดับพรีเมียม
ในปีที่ผ่านมา ศูนย์ผู้มีบุตรยากของโรงพยาบาลได้รับการรับรองคุณภาพระดับโลก AACI จากประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับประกาศนียบัตรรับรอง Trauma 3 ในการบริหารจัดการฉุกเฉิน และกำลังดำเนินการขอรับรอง TEMSA
ซึ่งเป็นมาตรฐานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่ยึดหลักความปลอดภัยใน 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1. Patient Safety 2. Personnel Safety และ 3. Public Safety เพื่อพร้อมให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ