ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว แก้ไม่ยาก ด้วยวิธีนี้ อากาศที่ร้อนขนาดนี้ จะหลบแดดมาคลายร้อนในบ้าน ก็ยังไม่หาย เพราะในบ้านของเราก็ร้อนไม่ต่างจากอากาศภายนอกเลย ทั้งๆ ที่มีหลังคากันแดดแล้วแท้ๆ เนื่องจากรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้แผ่เข้ามาในบ้าน ผ่านเข้ามาทางหลังคา ส่งมาถึงฝ้าเพดาน และส่งลงไปยังห้องต่างๆ ภายในตัวบ้าน นอกจากนี้รังสีความร้อนยังผ่านเข้ามาทางผนังบ้านได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้เมื่อเราอยู่บ้านก็ต้องเปิดแอร์ทั้งวัน ซึ่งนั่นทำให้ค่าไฟพุ่งกระฉูดตามมา
ไม่ว่าจะฤดูหนาว ฝน หรือฤดูร้อน แต่หลาย ๆ บ้านก็ยังเผชิญกับปัญหาบ้านร้อนอบอ้าวและร้อนมากตลอดทุกฤดู ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศของประเทศไทยที่ร้อนเท่านั้น แท้จริงแล้วบ้านร้อนอบอ้าว มีต้นเหตุมาจากความร้อนสะสมที่มีอยู่ภายในบ้าน เพียงเพราะระบบระบายอากาศภายในบ้านไม่ดีนั่นเอง
สำหรับที่มาของปัญหา “บ้านร้อนอบอ้าว” เกิดจากการที่อากาศร้อนจากภายนอกถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้าน โดยไม่ได้มีการถ่ายเทออกภายนอกบ้าน ส่งผลให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านรู้สึกร้อน อบอ้าว ลองมาดูเช็กลิสต์สาเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขให้บ้านเย็นอย่างถูกวิธี
สาเหตุที่ทำให้บ้านร้อน
1.บ้านไม่มีต้นไม้ใหญ่ช่วยบังแดด ทำให้ภายในบ้านร้อน
2.ไม่จัดตำแหน่งห้องในบ้านให้ถูกทิศ ทำให้ร้อนและอึดอัด
3.ไม่มีการปลูกต้นไม้กระถางภายในบ้านเลย ทำให้รู้สึกร้อน
4.ไม่มีกันสาดหรือระแนงกันความร้อนจากแสงแดดในช่วงบ่ายทางทิศใต้และทิศตะวันตก
5.ไม่มีสนามหญ้า มีแต่ลานคอนกรีตเต็มพื้นที่รอบบ้าน ทำให้ลมพัดเอาไอร้อนเข้าบ้าน
6.รั้วบ้านสูงและทึบ จนลมไม่สามารถพัดผ่านเข้าสู่ภายในบ้าน บ้านจึงร้อนอบอ้าว
7.ต่อเติมบ้านจนไม่มีทางให้แสงและลมเข้าออก ทำให้บ้านมืดทึบและร้อนอบอ้าว
8.ฝ้าเพดานเตี้ยเกินไป ทำให้ความร้อนที่ต้องลอยตัวขึ้นด้านบนยังคงลอยตัวในระดับต่ำ
9.ไม่ยอมเปิดหน้าต่างทางทิศเหนือและทิศใต้ทำให้ลมไม่เข้าบ้าน อากาศไม่ถ่ายเทจึงอึดอัด และร้อน
10.ไม่ติดอุปกรณ์กันแดด เช่น ผ้าม่าน หรือมู่ลี่ บริเวณหน้าต่างที่แสงเข้า ทำให้บ้านร้อนทุกวัน
11.เฟอร์นิเจอร์มีขนาดใหญ่มากเกินไป ทำให้อึดอัด และทึบ
12.วางเฟอร์นิเจอร์บดบังแสงสว่าง และปิดกั้นทางลมผ่าน จึงรู้สึกทึบ อุดอู้ ไม่น่าอยู่
13.วางเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากผ้า ซึ่งมีคุณสมบัติในการอมความร้อนได้ดี อยู่ติดผนังด้านที่โดนแดด ทำให้ช่วงตอนเย็นและค่ำ เมื่อผ้าคลายความร้อนออกมา จึงรู้สึกร้อน
14.ห้องครัวไม่ได้ติดตั้งเครื่องดูดควันและพัดลมดูดอากาศ ทำให้ความร้อน กลิ่น และควัน สะสมอยู่ในตัวบ้าน
15.ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามาก สะสมความร้อน
16.ใช้หลอดไส้ (ไฟหลอดไส้โคมดาวน์ไลท์ให้ความร้อนมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์)
17.ไม่ได้ทำความสะอาด มุ้งลวด ผ้าม่าน ที่เป็นตัวสะสมฝุ่นจนลมไม่เข้าบ้าน
18.ปูพรมบนพื้นทั่วทั้งบ้าน ทำให้เก็บฝุ่น เชื้อโรค ความร้อน และเปลืองค่าไฟฟ้า
19.ไม่ใช้สีโทนอ่อนกลับใช้สีโทนเข้มทั้งภายนอกและภายในบ้าน ทำให้ผนังสะสมความร้อนมากเกินไป
20.ทาผนังด้วนสีโทนร้อนมากเกินไป ทำให้คุณรู้สึกร้อนตามไปด้วย
วิธีแก้ไขบ้านร้อนอบอ้าว
- เลือกหลังคาบ้านสีอ่อน
การเลือกทาหลังคาบ้านสีอ่อน เป็นวิธีแก้ปัญหาบ้านร้อนที่ช่วยลดอุณหภูมิภายในบ้านได้ เพราะหลังคาบ้านสีอ่อนนั้นเป็นสีสว่าง จึงไม่สะสมความร้อน ไม่ดูดกลืนแสงบางชนิด และไม่ดูดซับความร้อนเท่ากับหลังคาสีทึบ สามารถทำการสะท้อนแสงออกไปจากตัวบ้านได้เป็นอย่างดี วิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหาบ้านร้อนได้มากยิ่งขึ้นเมื่อคุณเลือกใช้สีทาหลังคากันความร้อน และเพิ่มเติมด้วยการเลือกสีทาบ้านที่มีคุณสมบัติเป็นสีสะท้อนความร้อน คุณจะสัมผัสได้ถึงความแตกต่าง หลายคนไม่รู้นะว่าสีก็ช่วยกันความร้อน และสะท้อนความร้อนได้เหมือนกัน
- การใช้ฉนวนกันความร้อน
การใช้ฉนวนกันความร้อนเป็นทางเลือกใหม่ที่สามารถช่วยลดปริมาณความร้อนจากภายนอกเเละเก็บความเย็นให้คงอยู่ภายในบ้านได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับผนังทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด เพราะให้ประสิทธิภาพป้องกันความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้มากกว่าเเผ่นฝ้าเพดานธรรมดา โดยฉนวนกันความร้อนมีหลากหลายประเภท ได้แก่
-ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Fiberglass) หรือไมโครไฟเบอร์ มีคุณสมบัติทนความร้อนสูง ช่วยดูดซับความร้อนและเสียงสะท้อน ไม่ติดไฟ มีความหนา และยืดหยุ่น ติดตั้งง่าย
-ฉนวนกันความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) หรือแผ่นสะท้อนความร้อน UV มีความเหนียวทนทาน ควรติดใต้หลังคาและติดคู่กับฉนวนใยแก้ว เพื่อความร้อน
-ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลีเอทิลีน (Polyethylene Foam) หรือโฟม PE มีความหนา เหนียว ทนต่อแรงกระแทก และการกัดกร่อน มีคุณสมบัติในการช่วย แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน
-ฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam) หรือโฟม PS เป็น โฟมกันความร้อนและเย็น ติดตั้งง่าย นิยมนำมาติดตั้งเป็นฝ้าเพดานหรือผนังบ้าน
- การใช้แผ่นชนิดกันร้อนพิเศษ ยิปรอค เทอร์มัลไลน์
ประกอบไปด้วย ในการผสาน 2 คุณสมบัติพิเศษ ลดการส่งผ่านความร้อนของแผ่นยิปซัมร่วมกับฉนวนโฟม EPS Hi-Dense ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้มากกว่าผนังก่ออิฐทั่วไปถึง 8 เท่า ช่วยลดค่าแอร์ได้สูงสุด 69% เหมาะสำหรับผนังทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด
- กระเบื้องเลือกพื้นที่ให้ความเย็น
ได้แก่ หินอ่อน หินแกรนิต กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องพอร์ซเลน หรือกระเบื้องดินเผา เป็นกระเบื้องที่เหมาะสำหรับการปูกระเบื้องพื้นชั้นล่าง ด้วยวัสดุที่ช่วยเก็บความเย็น และระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายลายตามรสนิยมของผู้ที่อยู่อาศัย
- ก่อผนังอิฐมอญ 2 ชั้น
บ้านโดยทั่วไปมักจะก่ออิฐมอญเพียง 1 ชั้น ดังนั้นเพื่อบ้านจึงรับแสงอาทิตย์โดยตรง วิธีการแก้ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว ควรก่ออิฐมอญ 2 ชั้น โดยเฉพาะบ้านที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเวลาบ่าย เพื่อป้องกันความร้อน โดยอุณหภูมิในบ้านจะเย็นลงประมาณ 5 องศาเซลเซียส
อากาศร้อนแบบนี้ยังไงก็ดูแลสุขภาพกันด้วยนะคะ